หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Translate

     Google Translate ซึ่งเป็นบริการแปลภาษาด้วยเครื่อง (machine translation—MT) โดยกูเกิลซึ่งแต่เดิมนั้นไม่รองรับภาษาไทยนั้น ปัจจุบันสามารถรองรับการแปลทั้งจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทยและจากภาษาไทยเป็น ภาษาอื่น




สาเหตุที่เลือก Application:
     Application นี้มีความจำเป็นมากที่ต้องใช้งานเนื่องเป็น application ที่ใช้แปลภาษา ซึ่งมีหลายภาษาสามารถแปลเป็นไทยได้
วิธีแปลภาษาด้วย Google Translate:
     1. เข้าเว็บไซต์ www.google.co.th
     2. คลิกที่ แปลภาษา
     3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงในช่อง (หรือคัดลอกแล้ววาง)
     4. คลิกเลือกชื่อภาษาต้นฉบับ
     5. คลิกเลือกภาษาที่จะแปล
     6. คลิกปุ่ม แปล 
     7. จากนั้นจะได้ภาษาที่แปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อดี Google Translate:
     1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเดิมการที่จะหาโปรแกรมในการแปลภาษา ไทย-อังกฤษ (สำหรับการแปลเป็นประโยค) นั้น ส่วนมากจะเป็น Software ที่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งการมาของ Google Translate ทำให้การแปลภาษาเป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงกลุ่มคนได้อีกมากมาย
     2. สามารถแปลได้ทั้ง Website หรือ ประโยคข้อความใดๆ ก็ได้ หากต้องการแปลทั้ง Website ก็เพียงแค่พิมพ์ URL ของเว็ปไซต์ที่เราต้องการแปลเท่านั้นเอง ส่วนการแปลประโยคหรือข้อความก็สามารถใช้คำสั่ง Copy + Paste แค่นั้น
     3. หากท่านเป็นเจ้าของ Website ท่านสามารถนำ Code ของ Google Translate ไปวางที่ website ของท่านเพื่อให้ Website ภาษาไทยของท่านสามารถแปลภาษาได้หลากหลายภาษา (เหมือนดังที่ www.manacomputers.com ใช้อยู่)
ข้อเสีย Google Translate:
        การใช้ประโยชน์จากสิ่งใดๆ นอกจากข้อดีมากมายแล้วทุกสิ่งย่อมมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น รวมทั้ง Google Translate ก็เช่นกัน เนื่องจากคำแปลที่ได้มานั้นสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จึงอาจไม่สมบูรณ์แบบเสมอไป ยิ่งมีเอกสารในภาษาหนึ่งๆ ที่แปลโดยมนุษย์มาให้ Google แปลเอกสารวิเคราะห์มากเท่าใด คุณภาพของการแปลก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลว่าบางครั้งทำไมความถูกต้องของการแปลจึงแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา รวมทั้งความสละสลวยในการเรียบเรียงถ้อยคำก็ยังต้องอาศัยการตรวจทานจากมนุษย์ช่วยด้วย
โปรแกรมอื่น ที่มีการทำงานคล้ายกันกับ Application:
      Translate English - Thai เป็นโปรแกรมแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ทั้งย่อหน้าภายในเวลาเดียวกัน มีการแบ่งหมวดหมู่ของคำศัพท์ ที่แตกต่างกันทั้งศัพท์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม ธุรกิจฯลฯ ด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องอ่าน ภาษาอังกฤษจาก Website หรือจากสื่อต่างๆในคอมพิวเตอร์เป็นประจำ
ความแตกต่าง ระหว่างGoogle Translate กับTranslate English - Thai:
        Google Translate โปรแกรมแปลภาษาโดยอ้างอิงสถิติในการแปล (ซึ่งสามารถแปลได้แบบข้อความและทั้งเว็บ) โดยปกติแล้วโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้แนวทางอ้างอิงกฎ และต้องใช้การนิยามคำศัพท์และไวยากรณ์จำนวนมากในการแปลแต่
       Translate English - Thai เป็นโปรแกรมแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ทั้งย่อหน้าภายในเวลาเดียวกัน มีการแบ่งหมวดหมู่ของคำศัพท์ ที่แตกต่างกันทั้งศัพท์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม ธุรกิจฯลฯ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Resolution มีความสำคัญต่อการแสดงผลของภาพอย่างไร

          Resolution นั้น สำคัญอย่างไร   

          ในการทำงานเกี่ยวกับภาพนั้น สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงก็คือค่าของ Resolution ซึ่งก็คือค่าของความละเอียดของภาพนั่นเอง
                     

          Resolution คือค่าของความละเอียดของภาพ ซึ่งกำหนดจากจำนวนของเม็ดสี (pixels) ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพ อย่างเช่น ภาพ ๆ หนึ่งมี Resolution = 100 pixels/inches หมายความว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว มีจำนวนเม็ดสีอยู่ 100 เม็ดสีนั้นเอง

          ในการสร้างงานสักหนึ่งภาพนั้นเราจะต้องคำนึงถึงเสมอเกี่ยวกับการกำหนดค่าของ Resolution ซึ่งเราจะต้องกำหนดในขั้นตอนของการสร้างภาพ คงจะเคยเจอนะค่ะเวลาที่เราจะสร้างภาพใหม่ (New File) ก็จะต้องระบุค่าของ Resolution ซึ่งหากเรากำหนดค่าของ Resolution เยอะ ๆ ภาพก็จะมีความคมชัดสูง แต่ขนาดของไฟล์ก็จะใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งการกำหนดค่าของ Resolution สามารถกำหนดได้ 2 แบบ คือ

          1. pixel / inch การกำหนดจำนวนเม็ดสีต่อตารางนิ้ว เรียกว่า ppi
          2. pixel / cm การกำหนดจำนวนเม็ดสีต่อตารางเซนติเมตร

          ซึ่งหน่วยของการกำหนดค่า Resolution ที่เรานิยมกำหนดคือแบบแรก
           
          การกำหนดค่าของ Resolution เราจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ?

          การกำหนดค่า Resolution นั้นเราจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานเป็นหลัก ว่าเราต้องการเอาไปใช้เพื่ออะไร อย่างเช่น หากเราต้องการนำภาพไปใช้เพื่อทำสื่อสิ่งพิมพ์ งานประเภทนี้ก็จำเป็นที่จะต้องมีความคมชัดมาก ๆ (ค่า Resolution มากมีผลต่อความคมชัด และขนาดของไฟล์) ซึ่งเราสามารถตั้งค่า Resolution ได้มาก ๆ เพื่อให้ได้ความคมชัด โดยไม่ต้องกังวลต่อขนาดไฟล์ เพราะภาพประเภทนี้จะนำไปเข้าโรงพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นภาพงานประเภทโปสเตอร์ นิตยสาร เป็นต้น ซึ่งภาพงานประเภทนี้จะต้องการความคมชัดมาก ๆ ซึ่งค่าของ
Resolution จะอยู่ที่ประมาณ 300 – 350 ppi           

(Resolution สูง)
                                                                                   

          ซึ่งแตกต่างจากงานที่จะต้องใช้บนเว็บ เนื่องจากงานบนเว็บนั้น นอกจากความคมชัดแล้ว สิ่งสำคัญก็คือขนาดของไฟล์ ซึ่งจะมีผลต่อการความเร็วในการแสดงผลบนเว็บด้วย ดังนั้นค่าของภาพที่จะนำไปใช้บนเว็บจึงควรมีขนาดไฟล์ที่มีขนาดเล็กเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ทำให้คุณภาพของภาพต่ำจนเกินไป ไม่ต้องมีความคมชัดมากนัก โดยส่วนใหญ่ จึงมักกำหนด Resolution อยู่ที่ 72 ppi (เวลา New File ค่าเริ่มต้นใน Photoshop ก็จะถูกกำหนดอยู่ที่ 72ppi)                    

(Resolution ต่ำ)
                   
          ส่วนงานอื่น ๆ หรืองานทั่ว ๆ ไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้สร้าง ซึ่งอาจจะอยู่ที่ประมาณ 100 – 150 ppi ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการให้ภาพมีความคมชัดมากน้อยเพียงใด

สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวเบญจวรรณ  สังขนันท์
นางสาวอินทิรา  เพิกเฉย
นางสาวศิริทิพย์  อินทรมาลา
นางสาวมัณฑนา  ไวพยาบาล
นางสาวจันทิมา  ใหญ่ท้วม
ห้อง 1
 

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กูเกิล พลัส ครองใจผู้ใช้อเมริกัน เบียดทวิตเตอร์-ลิงค์อิน

กูเกิล พลัส ครองใจผู้ใช้อเมริกัน เบียดทวิตเตอร์-ลิงค์อิน

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์  ประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์
2. ซอฟต์แวร์
3. หน่วยประมวลผล
4. พีเพิลแวร์  
5. ข้อมูลและสาระสนเทศ

1.ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์คืออุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ
        หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
        หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการ ประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น 
        หน่วยความจำ (
Memory Unit)  มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
        หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
            คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, UNIX, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, FORTRAN, Pascal, COBOL, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
            คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
            2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
            2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวย

3.หน่วยประมวลผล
หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง

4.พีเพิลแวร์  
        พีเพิลแวร์  คือ  ผู้ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ  อันได้แก่  การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล  บางกลุ่มอาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ  ตามความต้องการและในการประมาลผล  และอาจเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในโอกาสต่างๆ   จะเห็นว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ  ได้เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)  หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป   สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ  เช่น  การพิมพ์งาน   การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์   การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์   เป็นต้น  ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ  ของคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)  หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์  ตลอดการต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ค่อนข้างดี
        3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  (Programmer)  หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน
        4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System  Analysis)  เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม   เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี   เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป
        5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์   (System Manager)  เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

5.ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น 
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 
        1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 
        2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 
        3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 
        4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน 

โครงสร้างของระบบ คอมพิวเตอร์

       แบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้

รับข้อมูลเข้า (Input) >>>ประมวลผลข้อมูล(Process)>>>แสดงผลลัพธ์(Output)
1. Input - Output เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
        2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุตหรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว(execute)
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์
(106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ )
การจัดการหน่วยความจำ
การจัดการหน่วยความจำเป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของ OS หน่วยความจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วยโปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีความสามารถมากมักต้องการหน่วยความจำปริมาณมากด้วย แต่หน่วยความจำเป็นทรัพยากรที่มีราคาแพง และในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหน่วยความจำมีขนาดจำกัด ทำให้เราไม่สามารถขยายขนาดหน่วยความจำได้มากตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ เราจึงยกงานการจัดการหน่วยความจำนี้ให้เป็นหน้าที่ของ OS เช่น ตรวจดูว่าโปรแกรมใหม่จะถูกนำไปวางไว้ในหน่วยความจำที่ไหน  เมื่อใด  หน่วยความจำไหนควรถูกใช้ก่อนหรือหลัง  โปรแกรมไหนจะได้ใช้หน่วยความจำก่อน  การจัดการหน่วยความจำของ OS นั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ
1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy)
2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy)
3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy) 

การจัดการโปรเซสเซอร์
โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี  โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และโปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายามให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย (longterm scheduler) การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ในบางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซส  และทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะพร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน"
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับโปรเซสใหม่ได้


CPU

ขั้นตอนการทำงานของ CPU
ก่อนที่ CPU จะทำการประมวลผลข้อมูล คำสั่งและข้อมูลจะต้องถูกโหลดมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักเสียก่อน 

Memory
ô
InputïCPUðOutput

การประมวลผลคำสั่งของ CPU
หลังจากคำสั่งและข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำแล้ว CPU ก็จะทำการประมวลผลที่ละคำสั่ง ใน 4 ขั้นตอนดังนี้
1.โหลดคำสั่ง (Fetching)
2.แปลคำสั่ง (Decoding)
3.ประมวลผล (Executing)
4.เก็บประมวล (Storing)

ขั้นตอนการประมวลผลของ CPU 
การเฟตช์ (Fetch) เป็นกระบวนการที่หน่วยควบคุม (CU) ไปนำคำสั่งที่ต้องการใช้จากหน่วยความจำมาเพื่อการประมวลผลมาเก็บไว้ที่ Register
การแปลความหมาย (Decode) เป็นกระบวนการถอดรหัสหรือแปลความหมายคำสั่งต่างๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อดำเนินการต่อไป
การเอ็กซ์คิวต์ (Execute) เป็นกระบวนประมวลผลคำสั่งโดยหน่วยคำนวณและตรรกะ ซึ่งการประมวลผลจะประมวลผลทีละคำสั่ง
การจัดเก็บ (Store) เป็นกระบวนการจัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือรีจิสเตอร์

เวลาที่ใช้ในการแปลคำสั่ง (Instruction Time)
เวลาทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
การแปลคำสั่ง (fetch and decode)
การประมวลผลคำสั่ง (execute and store)
  เวลาที่ใช้แปลคำสั่งเรียกว่า Instruction time.
          เวลาที่ใช้ในการประมวลผล เรียกว่า Execution time.

หน่วยวัดความเร็วของซีพียู
          เมกะเฮิรตซ์ ( Megahertz: MHz ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในไมโครคอมพิวเตอร์หรือ Clock Speed ที่มีความเร็วหนึ่งล้าน วัฏจักรเครื่องต่อวินาที( Millions machine cycle per second )
          มิปส์ ( Million of Instructions Per Second: MIPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูของคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไปโดย 1 MIPS จะสามารถประมวลผลได้หนึ่งล้านคำสั่งต่อวินาที ( Million of Instructions Per Second: MIPS )
          ฟลอปส์ ( Floating Point Operations Per Second: FLOPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักวัดความสามารถในการปฏิบัติการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบทศนิยมหรือ
Floating Point

ระบบเลขฐาน

ระบบเลขฐานของคอมพิวเตอร์

ระบบเลข เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนต่าง ๆ ระบบเลขแต่ละระบบมีจำนวนตัวเลขที่ใช้เหมือนกับชื่อของระบบตัวเลขนั้น และมีฐานของจำนวนเลขตามชื่อของมัน เช่น เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบ เลขฐานสิบหก
            ระบบเลขฐานสอง เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ซึ่งเลข 0 กับ 1 เป็นเลขที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการทำงาน การเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางไฟฟ้า
            ระบบเลขฐานแปด เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, รวมแปดตัว
            ระบบเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, ซึ่งเลขฐาน 10 เป็นเลขฐานที่มนุษย์ทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะว่าเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
            ระบบเลขฐานสิบหก เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัวและตัวอักษร 6 ตัว คือตัวเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, และตัวอักษรคือ A แทน 10, B แทน 11, C แทน 12, D แทน 13, E แทน 14, F แทน 15 ซึ่งรวมกันแล้วได้ 16 ตัว

ระบบเลขฐานสอง

การแทนค่าหลักต่างๆ ในระบบเลขฐานสอง
256, 128, 64, 32, 16, 8, 4, 2, 1

การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
หลักการ
1.ให้นำเลขฐานสิบเป็นตัวตั้งและนำ2 มาหาร ได้เศษเท่าไหร่จะเป็นค่าบิตที่มีนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSB)
2.นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 1 มาตั้งหารด้วย 2 อีกเศษที่จัดจะเป็นบิตถัดไปของเลขฐานสอง
3. ทำเหมือนข้อ 2 ไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์ เศษที่ได้จะเป็นบิตเลขฐานสองที่มีนัยสำคัญมากที่สุด (MSB)

ตัวอย่าง  49610   แปลงเป็นเลขฐาน 2
ดังนั้น 49610 = 1111100002

การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
หลักการ
คือการเอาค่า weight ของทุกบิตที่มีค่าเป็น 1 มาบวกกัน

ตัวอย่าง  110111012 แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ
110111012  =
= 128+64+0+16+8+4+0+1
= 22110


ยุคของคอมพิวเตอร์

เครื่องมือชนิดแรกที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ก็คือ ลูกคิด ซึ่งสร้างขึ้นโดยชาวจีนโบราณ
ยุคที่ 1 (1951-1958)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย  การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัว เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) ใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อข้อมูล
ยุคที่ 2 (1959-1964)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก  เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง หรือภาษาสัญลักษณ์ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคที่ 3 (1965-1971)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) สามารถทำงานเท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว จึงทำให้มีขนาดเล็กลง ใช้ภาษาพีแอลวัน และภาษาโคบอล
ยุคที่ 4 (1972-1980)
เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI)  เริ่มมีภาษาใหม่ๆ เช่น ภาษาเบสิค ภาษาปาสคาล
ยุคที่ 5 (ตั้งแต่ปี 1980 ขึ้นไป)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น จึงเรียกยุคนี้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มีการใช้กราฟฟิคมากขึ้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เช่น โน๊ตบุ๊ค

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 1

ความหมายของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาละติน "Computer" การนับหรือการคำนวณ พจนานถกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

เทคโนโลยีสารสนเทศ

     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology/IT) : เทคโนดลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งคลอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลงการจัดเก็บการประมวลผล และการสืบค้นสารสนเทศในการประยุกต์ การบริการและพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
-      คอมพิวเตอร์
-      การสื่อสาร
-      ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย

สังคมยุคดิจิตอลและยุคการใช้ปัญญา
        เกิดบริการ Online ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.   E-Commerce (การสั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ต)
2.   Internet Banking
3.   E-Learning (การเรียนรู้ด้วยตนเอง)
4.   E-Government (เกี่ยวกับรัฐบาล ภาครัฐ)

สถานการณ์ใหม่ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

     ความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ประกอบด้วย

1.   ความต้องการในเชิงของสื่อที่เป็นมวลชน
ความต้องการที่จะสื่อสารไปสู่ผู้คนในจำนวนมากๆ ในคราวเดียว
2.   ความเร็วในการสื่อสารข้อมูล
ความเร็วในการสื่อสารทั้งภาพ ตัวอักษร และเสียง
3.   ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย
สื่อที่ใช้ในการส่ง เช่น สายใยแก้วนำแสง, การสื่อสารไร้สาย

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
o   ความเร็ว
o   ความถูกต้องแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือ
o   เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้
o   ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
o   Hardware ฮาร์ดแวร์
o   Sofeware ซอฟต์แวร์
o   Peopleware บุคลากร
o   Data/Information ข้อมูลและสารสนเทศ
o   Procedure กระบวนการทำงาน