หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Communication and Internet


1)ช่องสื่อสาร มี 2 ประเภทอะไรมี  อธิบายแต่ละเส้นทาง
1.    แบบมีสาย  เช่น สายคู่บิดเกลียวโคแอกเชียล, เส้นใยแก้วนำแสง
            สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิล เดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง
            สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็น ตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน (นิยมนำมาใช้เป็นสายเสาอากาศโทรทัศน์)
            เส้นใยนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็ดเท่าเส้นผม และภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละ เส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสง กับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามรถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวิดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามาถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก
2.   แบบไร้สาย เช่น  IrDA, Radio wave, Microwave,  Satellite
อินฟราเรด (IrDA)  สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัว ส่งและตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ (The Infrared Data Association IrDA)
คลื่นวิทยุ (Radio wave)  เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะทางได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation: AM)
และเอฟเอ็ม (FREQUENCY MODULATION: FA)
สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ - ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าตึกสูงหรือยอดดอย เพื่อหลีกเลี่ยงการชนหากมีสิ่งกีดขวาง เนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณ ดังที่กล่าวมาแล้ว การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และทุรกันดาร
ดาวเทียม (satilite) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ - ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก วัตถุประสงค์ในการสร้างดาวเทียมเพื่อเป็นสถานีรับ - ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ในการส่งสัญญาณดาวเทียมจะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับ และส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลก 22,300 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณ จากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ โดยอาศัยพลังงานที่ได้มาจากการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย ด้วย แผงโซลาร์ (solar panel)
2)  สถาปัตยกรรมเครือข่าย  จงอธิบาย
1.   Star Topology  ข้อดี ข้อเสีย :
ข้อดี
1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย
2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
ข้อเสีย
1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน
2.   Bus Topology  ข้อดี ข้อเสีย :
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
3.   Ring Topology ข้อดี ข้อเสีย :
ข้อดี
1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา
3) คำศัพท์ อธิบาย
-  WWW :
คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
-  Web Site :
คือ ทั้งหมด และทุกๆส่วนของเว็บนั้นๆเลยครับ ถ้าเป็นหนังสือ ก็คือหนังสือทั้งเล่ม
-  Web page :
คือ เนื้อหาของเว็บไซต์ทุกๆหน้า หรือหน้าใดๆได้ทุกหน้าจะเป็นหน้าที่เรียกเฉพาะเจอะจงเข้าไป จะเป็นหน้า general หรือหน้าใดก็ได้ถ้าเป็นหนังสือก็คือ หน้าต่างๆที่เราเปิดไปเพื่อที่จะอ่านนั้นเอง
-  Web Browser :
คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
-  DNS   พร้อมยกตัวอย่าง :
คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)
ตัวอย่าง ของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org

อุปกรณ์รับข้อมูลหรือแสดงผลลัพธ์ที่ทันสมัยล่าสุด


Traveler 6000 เม้าส์ไร้สายแบบ optical
Genius ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ เมาส์ออฟติคัลไร้สาย รุ่น Traveler 6000 ที่ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการพกพา ซึ่งจะช่วยให้การทำงานประจำวันของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญยังเหมาะสำหรับคนที่ถนัดมือซ้ายหรือขวาอีกด้วย

โดดเด่นด้วยฟีเจอร์ optical engine ความแม่นยำสูงความละเอียด 1200 dpi ส่งผลให้ Traveler 6000 สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์สำหรับการเรียกดูเอกสารหรือหน้าอิน เทอร์เน็ตได้อย่างดีเยี่ยม  พร้อมด้วย Pico receiver  ที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด สามารถติดตั้งบนโน๊ตบุ๊กแล้วพกพาไปได้ทุกที่ในออฟฟิศของคุณ Traveler 6000 ยังช่วยประหยัดงบในการซื้อแบตเตอรี่ โดยออกแบบมาให้ใช้แบตเตอรี่ AAA  เพียงหนึ่งก้อน และยังเพิ่มสวิตช์ที่จะช่วยประหยัดและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยาว นานขึ้นอีกด้วย
Traveler 6000 พร้อมวางจำหน่ายแล้วและมีให้เลือกถึง 3 สียอดนิยม – Diamond Black (ดำ), RoyalBlue (น้ำเงิน) และ Ruby Rose (แดง)

ฟีเจอร์เด่น
• เม้าส์  optical ไร้สาย ความถี่  2.4Ghz พกพาสะดวก
• เซนเซอร์ optical ความละเอียด 1200 dpi เพื่อการควบคุมทีแม่นยำและเไหลรื่น
• ตัวรับสัญญาณแบบ Pico receiver จิ๋วแต่แจ๋ว
• มีสวิตช์ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยาวนานขึ้น
• เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ถนัดทั้งมือซ้ายและมือขวา
 _______________________________________

COOL LEAF : คีย์บอร์ดไร้ปุ่ม จาก Minebea
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางบริษัท Minebea ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของ ญี่ปุ่น ได้วางขายคีย์บอร์ดที่มีชื่อว่า “COOL LEAF” ตามตัวแทนจำหน่ายในญี่ปุ่น ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูเผินๆ เหมือนแผ่นกระจกเงาเลยจ้ะ

จริง ๆ การสะท้อนที่ดูเหมือนกระจกนี้ เกิดจากเแผ่นฟิลม์สะท้อนแสง PET กว่า 2,000 ชั้นข้างใต้คีย์บอร์ด นอกจากนั้นคีย์บอร์ดตัวนี้ยังมาพร้อมกับระบบสัมผัสแบบ Multi-Touch จึงทำให้การกดปุ่มพร้อมๆ กันอย่าง Crtl+Alt+Del สามารถทำได้สบายๆ และยังสามารถปรับแต่งความละเอียดของการสัมผัสได้ตามต้องการอีกด้วย

สิ่งที่น่าเสียดายคือตัวคีย์บอร์ดเหมือนจะไม่ได้อัพเดทเลย์เอาท์ของ คีย์บอร์ดผ่านทางซอฟต์แวร์ นั่นหมายความว่าผู้ใช้ไม่สามารถปรับแต่งเปลี่ยนแปลงปุ่มอะไรได้เลย และจำต้องรอผู้ผลิตทำคีย์บอร์ดเฉพาะเลย์เอาท์นั้น ๆ ออกมาเท่านั้น และเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ด COOL LEAF ในตอน นี้ยังมีแต่แบบญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เลย์เอาท์สำหรับภาษาอังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส รวมถึงเวอร์ชั่นคีย์บอร์ดแบบ Mac จะตามมาทีหลังในช่วงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ (คงไม่มีภาษาไทยอีกด้วยสินะ) ทางบริษัท Minebea บอกว่ากลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มของคีย์บอร์ดนี้ คือด้านธุรกิจที่เน้นเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เช่นในวงการแพทย์ หรือธุรกิจด้านอาหาร เพราะคีย์บอร์ดตัวนี้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายมากๆ นั่นเองเวลาพิมพ์จะมีเสียง ติ๊ด ติ๊ด

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แรม (RAM) และ รอม (ROM)

1.จงบอกประเภทของแรม (Ram)
ประเภทของแรม (RAM)

       โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) โดยมีรายระเอียดดังนี้
  • Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
  • Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของซิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง


    ชนิดของแรมหรือแรม DRAM (ในปัจจุบัน)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่อยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้
1. SDRAM (Synchronous DRAM)
ตัวซิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บน แผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลต์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150MHz) ปัจจุบันหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น
2. DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)
          ตัวซิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขาใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง ความเร็วบัสในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังจะตกรุ่น การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา)เท่ากับอัตตราความ เร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีก เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700
(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533), และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น
          3. DDR-II SDRAM
ตัวซิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่งยังสามารถออกแบบให้ตัวซิปมีขนาดเล็กและบางลงได้ ซิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่ใช่จะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่สุด นอกจากรุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น
4. RDAM (RAMBUS DRAN)
ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Ram bus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับซิปเซต i850 และซีพียู Pentium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยซิปเซต และเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวซิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Ram bus Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  • RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066(1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
  • RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชนแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(8 ไบต์) ที่ทำงานด้วยความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

2.จงบอกประเภทของรอม(Rom)
รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้ โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น
  • เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
  • ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข
  • ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

หน่วยความจำประเภท ROM นี้ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ตามลักษณะการใช้งานได้หลายประเภท สำหรับเทคโนโลยีในการผลิตตัวไอซีที่ทำหน้าที่เป็น ROM มีทั้งแบบ MOS และแบบไบโพลาร์ ดังแผนภาพ
ชนิดของ ROM
1.   Mask ROM
หน่วยความจำประเภทนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายในจะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไอ ซี เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเหมาะสำหรับงานที่ผลิตครั้งละมากๆ ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ ROM ประเภทนี้มีทั้งแบบไบโพลาร์และแบบ MOS
2.   PROM (Programmable ROM)
จากไอซี ROM แบบแรกการโปรแกรมข้อมูลจะต้องโปรแกรมมาจากโรงงาน และต้องผลิตจำนวนมากจึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการผลิต อีกทั้งโรงงานผู้ผลิตไอซีจะรู้ข้อมูลที่เก็บอยู่ด้วย สำหรับระบบดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่ผลิตออกมาจำนวนไม่มากและต้องการใช้ หน่วยความจำ ROM สามารถนำหน่วยความจำ ROM มาโปรมแกรมเองได้ โดยหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า PROM ( Programmable Read Only Memory ) หน่วยความจำประเภทนี้ เซลล์เก็บข้อมูลแต่ละเซลล์จะมีฟิวส์ ( fused ) ต่ออยู่ เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE PULSED ) ไอซี PROM ที่ยังไม่ถูกโปรแกรมนั้น ข้อมูลทุกเซลล์หรือทุกบิตจะมีค่าเท่ากันหมด คือ มีลอจิกเป็น 1 แต่เมื่อได้มีการโปรแกรมโดยป้อนแรงดันไฟสูงๆเข้าไปจะทำให้เซลล์บางเซลล์ ฟิวส์ขาดไป ทำให้ตำแหน่งที่เซลล์นั้นต่ออยู่มีลอจิกเป็น 0 เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เนื่องจากฟิวส์ที่ขาดไปแล้วไม่สามารถต่อได้ หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
3.   EPROM (Erasable Programmable ROM)
หน่วยความจำประเภท EPROM เป็นหน่วยความจำประเภท PROM ที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมข้อมูลใหม่ได้ เหมาะสำหรับงานสร้างวงจรต้นแบบที่อาจต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือข้อมูลใหม่ ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE SIGNAL ) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM หน่วยความจำประเภทนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ลบข้อมูลด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า UV PROM ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นหน่วยความจำที่ลบข้อมูลด้วยไฟฟ้า เรียกว่า EEPROM ย่อมาจาก Electrical Erasable PROM
การอ่านขนาดความจุจาก Data Sheet

จากรูป แสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกซิปที่อยู่ใน ROM มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้วขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส 2 ทาง ลักษณะโครงสร้างภายในของข้อมูลในหน่วยความจำสามารถดูได้จาก Data Sheet ของ ROM นั้นๆ เช่น ROM ที่ระบุเป็น 1024 8 หรือ 4096 8 ตัวเลขชุดแรก (1024,4096) จะบอกถึงจำนวนตำแหน่งที่ใช้เก็บข้อมูลภายใน ส่วนตัวเลขชุดที่สอง ( 8,8 ) จะเป็นตัวบอกถึงจำนวนบิตของข้อมูลแบบขนานที่อ่านจาก ROM
ในการที่จะกำหนดจำนวนเส้นของบัสแอดเดรสที่ใช้กับ ROM จะสามารถรู้ได้จาก
2 ยกกำลัง x = จำนวนแอดเดรสที่อ้างถึง
เช่น 2 ยกกำลัง x = 4096 จะได้ x = 12 ซึ่งก็คือ จำนวนเส้นบัสแอดเดรสนั่นเอง
การอ่านข้อมูลจาก ROM
  1. CPU จะส่งแอดเดรสไปให้ ROM แอดเดรสดังกล่าวจะปรากฏ เป็นแอดเดรสที่ต้องการอ่าน ใน ROMโดยข้อมูลจะถูกอ่านออกมาเพียงครั้งละ 1 ไบต์เท่านั้น
  2. CPU จะต้องให้ช่วงเวลาของการส่งแอดเดรสยาวนานพอประมาณ ( Wait State ) เรียกว่า Access Time โดยปกติแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 100 - 300 นาโนวินาที ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ ROM ซึ่ง ROM จะใช้เวลานั้นในการถอดรหัสแอดเดรส ของข้อมูลที่ต้องการจะอ่านออกมาที่เอาต์พุตของ ROM ซึ่งถ้าใช้เวลาเร็วกว่านั้น ROM จะตอบสนองไม่ทัน
  3. CPU จะส่งสัญญาณไปทำการเลือก ROM เรียกว่า สัญญาณ CS (Chip Select) เพื่อบอกว่าต้องการเลือก ROM ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเพื่อยืนยันการเลือกซิปนั่นเอง
  4. ข้อมูลจะผ่านออกทางขาข้อมูลชั่วขณะจังหวะการเลือกซิป และเมื่อขาการเลือกซิปไม่แอคทีฟ ข้อมูลก็จะเข้าสู่ภาวะที่มีอิมพีแดนซ์สูง

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบสื่อสาร

รูปแบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย

                                    
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
          1. ข้อมูล/ข่าวสาร (Massage)
          2. ผู้ส่งสาร (Sender/Source)
          3. ผู้รับ (Receiver/Destination)
          4. ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
          5. โปรโตคอล (Protocol)

การสื่อสารคมนาคม
          การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายทอดสัญญาณ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล

ตัวกลาง/ช่องทางการสื่อสาร
          สื่อต่างๆ ที่ใช้ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอ็กเซียล สายใยแก้วนำแสง สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณผ่านดาวเทียมและสัญญาณไร้สายแบบต่างๆ

สื่อนำสัญญาณ
ประเภทใช้สาย
          1. สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน (UTP : Unshielded Twisted Pairs)
สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า สายยูทีพี (UTP) เป็นสายที่ไม่มีส่วนที่เป็นชั้นฉนวน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ทำให้มีราคาถูกกว่าแบบหุ้มฉนวน ปัจจุบันเป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากที่สุดในเครือข่ายท้องถิ่น จากข้อกำหนดตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การใช้สายยูทีพี ในเครือข่ายท้องถิ่น ความยาวสายควรจะไม่เกิน 100 เมตร





2. สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน (STP : Shielded Twisted Pairs)
สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน มีส่วนที่เพิ่มขึ้น คือ ชั้นฉนวน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน เช่น คลื่นวิทยุจากภายนอก ชั้นฉนวนอาจเป็นแผ่นโลหะ หรือใยโลหะถักเป็นตาข่าย ห่อหุ้มสายคู่บิดเกลียวทั้งหมด



3. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ในเครือข่ายท้องถิ่นในยุคที่ผ่านมา ในปัจจุบันเครือข่ายท้องถิ่นนิยมใช้คู่บิดเกลียวและสายใยแก้วนำแสง แม้ว่าสายโคแอ็กเชียลจะล้าสมัยสำหรับเครือข่ายท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางเครือข่ายที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่ 
สายโคแอ็กเชียล มีโครงสร้างประกอบด้วย แกนกลาง เป็นสายทองแดงที่เป็นวัสดุนำไฟฟ้า ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อไปเป็นตัวนำไฟฟ้า เป็นใยโลหะถักเป็นตาข่าย หุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นนอกสุดท้ายหุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ



4. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน มี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ ประเภทแรก คือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ และประเภทที่ไม่ได้ใช้โลหะ สายแบบที่ใช้โลหะ เช่น สายคู่บิดเกลียว และสายโคแอ็กเชียล โดยปัญหาของสายที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ คือ สัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตสนามแม่เหล็กต่างๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า บัสหลาสที่ใช้กับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือสนามแม่เหล็กจากฟ้าผ่า

ประเภทไร้สาย
1. Microwave
2. Satellite
3. Wi-Fi
4. Wi-Max
5. Infrared
6. Bruthood